Answerman – เจ้าของลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่นมีสิทธิ์มาควบคุมกับ พากย์ และ แปล ขนาดไหน?

Share

Bill ถาม:

มีคนหลายคนบ่นเกี่ยวกับการแปลของ Neon Genesis Evangelion ใน Netflix ที่แตกต่างจากฉบับก่อนหน้าอย่างมาก ทั้งในส่วนของคำบรรยายและเสียงพากย์ภาษาอังกฤษ เลยอยากทราบว่า ทางญี่ปุ่นสามารถควบคุมการแปลและการพากย์ของบริษัทในอเมริกากับชาติอื่นๆ ได้มากขนาดไหน

Answerman ตอบ:

ฉากสำคัญของ Evangelion ที่ทำให้เกิดดราม่าคำแปลของ Netflix

แล้วแต่พวกเขาปรารถนาเลย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยวุ่นนัก จะมีก็แค่บางกรณีเท่านั้นที่มีการก็เข้ามาควบคุมทุกขั้นตอนเลยทีเดียว

ต้องเข้าใจก่อนว่า บริษัททุกเจ้าที่ทำหน้าที่ดูแลลิขสิทธิ์อนิเมะเรื่องต่างๆ นั้นมีภาระหน้าที่ทั้งฝั่งกฎหมายและฝั่งศีลธรรมของการเป็น ‘ผู้รับผิดชอบ’ ของการทำอนิเมะเรื่องนั้น และต้องมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบอยู่สามประการ อย่างที่หนึ่ง ก็คือ การใช้ผลงานหรือผลิตสื่อใดๆ จะต้องผ่านการแอพพรูฟของผู้สร้างและผู้ผลิตดั้งเดิม ไม่ใช่ว่าจะเนียนๆ ผลิตของแบบไม่สอบถามต้นสังกัดที่ญี่ปุ่น / อย่างที่สอง ก็คือ ต้องทำให้แน่ใจว่า ขั้นตอนการเจรจาลิขสิทธิ์ และ การขายทั้งหมด ถูกต้องเรียบร้อย / อย่างที่สาม ก็คือ ทำรายได้จากสินทรัพย์ทางลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน กับ นักลงทุน

ทั้งนี้ บริษัที่จัดจำหน่ายอนิเมะขนาดใหญ่ๆ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศ และอาจจะมีแผนกที่คอยดูแลการขายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศโดยเฉพาะ และแผนกงานเหล่านี้ต้องทำหน้าที่สามอย่างที่กล่าวถึงในย่อหน้าที่แล้ว อย่างไรก็ตามปกติแล้วแผนกดูแลการขายลิขสิทธิ์ตามบริษัทจัดจำหน่ายอนิเมะแบบนี้ ก็มักจะมีบุคลากรไม่เพียงพอ หากเทียบกับอนิเมะที่ต้องขายและประเทศที่ติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ เลยทำให้การทำงานของแผนกดูแลการขายลิขสิทธิ์นี้ มักจะแอพพรูฟผลงานต่างๆ ในมาตรฐานทั่วๆ ไป

กระนั้นถ้ามองในฝั่งผู้ผลิตงานอนิเมะแล้ว แต่ละเจ้าจะมีมาตรฐานการตรวจสอบนั้นก็จะแตกต่างกันไปตาม บางเจ้าอาจจะมีความต้องการความละเอียดสูงถึงระดับที่ขอเช็คบทแปลของประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป บางเจ้าจะขอเข้ามาร่วมตัดสินใจในการเลือกนักพากย์ บางเจ้าขอตรวจสอบบทพากย์ที่มีการปรับปริบทให้เข้ากับผู้ชมปลายทางว่าโอเคหรือไม่ก่อนที่จะปล่อยงานให้พากย์จริง

ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็คือ ‘กำแพงภาษา’ นั่นเอง ถึงคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายลิขสิทธิ์จะใช้งานภาษาอังกฤษได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ภาษาอังกฤษ ก็ไม่ใช่ภาษาแม่ของผู้สนทนาเท่าใดนัก เหตุนี้เลยทำให้การคุยงานกันมักจะมี ‘การตกหล่น’ ในการสื่อสารเข้ามา ทำให้การตรวจสอบรายละเอียดบางอย่างต้องใช้เวลาเพิ่มเติมขึ้นอีก

และในแง่การทำงาน บริษัทผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ ก็ต้องการที่ดูแลการทำงานในบางส่วน และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ก็ทำให้การขอไฟล์ไปตรวจสอบทำง่ายขึ้นด้วย แม้ว่าในการเซ็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัท อาจจะมีการกำหนดขอบเขตในการตรวจสอบ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าเกิดมีการขอตรวจสอบเกิดขอบเขตสัญญา ทางบริษัทผู้ซื้อลิขสิทธิ์ก็จะยินยอมให้ตรวจสอบ (เพราะการขัดใจผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์อาจจะส่งผลให้ไม่ได้ซื้องานกันต่อไปในอนาคต)

เพราะฉะนั้นขีดจำกัดในการดูแลการทำงานของบริษัทผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ อยู่ที่ความขยันของพวกเขาเองว่าจะทุ่มพลังมาตรวจสอบขนาดไหน ถ้าเป็นงานอนิเมะเก่าๆ ชื่อเสียงกลางๆ ก็อาจจะไม่โดนตรวจสอบแบบละเอียดมากนักเพราะ ผู้สร้างก็มีความปล่อยวางไปแล้ว แต่ถ้าเป็นผลงานชื่อดัง จากผู้สร้างชื่อดัง งานแบบนี้มักจะมีการตรวจสอบที่ดุเดือดมากกว่าหลายเท่า เลยทำให้งานดังๆ นั้นจะต้องใช้เวลาในการออกล่าช้าเพิ่มมากขึ้น อีกกรณีที่จะทำให้การตรวจสอบของผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์มีความล่าช้าก็คือ ขนาดบริษัทของผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์เอง อย่างที่เราบอกไปว่า แผนกดูแลการซื้อขายลิขสิทธิ์ มักจะเป็นแผนกเล็กๆ มีคนไม่เพียงพอ ยิ่งบริษัทเล็กลง แล้วมีการวางเงื่อนไขในการตรวจสอบเยอะ ก็จะเป็นเหตุที่ทำให้การตรวจสอบช้าอืดชืดมากยิ่งขึ้น

แล้วก็มีบางกรณีที่เจ้าของผลงานที่ใส่ใจกับการเห็นผลงานตัวเองในต่างประเทศมากเกินไป จนทำให้เจ้าของผลงานพวกเขาอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอนของการทำงาน เลยมีการควบคมนักแปลให้แปลตามที่ตัวเองต้องการ, บางทีก็ยุ่งไปถึงขั้นตอนการพากย์ ซึ่งการกระทำเช่นนี้บางทีก็วุ่นวายไม่น้อยเช่นกัน ด้วยเหตุที่ว่าเจ้าของผลงานบางครั้งก็จะบีบให้ นักแปล, นักพากย์ ไปใช้คำแปลที่ตรงกับภาษาญี่ปุ่นแบบเป๊ะๆ แต่อาจจะมีปริบทในภาษาปลายทางที่เพี้ยนจากเดิมไปอย่างมาก แล้วก็การกระทำเช่นนี้ มักจะเป็นขั้นตอนการทำงานหลังฉากไม่ได้เปิดเผยให้คนนอกรู้ ซึ่งถ้ามีกรณีแบบนี้ ทางกลุ่มนักพากย์ ห้องพากย์ หรือบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปก็อาจจะลองฝืนต้านทานเจ้าของผลงานก็ได้ แต่ถ้าความแตกก็มีโอกาสที่จะไม่ได้ร่วมงานกันอีกตลอดไปเลย เพราะอุตสาหกรรมอนิเมะยังไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าใดนัก

ข้ามมาพูดถึงกรณีของ Evangelion ที่กลับมาฉายทาง Netflix นั้น จริงๆ แล้วอาจจะมีปัญหาอยู่สองข้อ อย่างแรกก็คือการที่ผู้สร้างเข้ามาแทรกแซงจนทำให้บทแปลภาษาอังกฤษ รวมถึงบทพากย์หลายส่วนนั้น กลายเป็นคำพูดที่คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ไม่มีวันจะพูดออกมาในชีวิตประจำวัน ซึ่งเรื่องนี้ ผู้กำกับการพากย์ (และรับหน้าที่พากย์เป็น มิซาโตะ ในการพากย์เสียงอังกฤษฉบับใหม่) ได้ออกมาทวิตข้อความยืนยันแล้วว่า การเลือกนักพากย์นั้นเป็นการตัดสินใจจากทางญี่ปุ่นโดยตรง โดยไม่ได้คำนึงถึงชื่อเสียงของนักพากย์แต่อย่างใด

ปัญหาอย่างที่สองนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจาการทำงานแปลหรือพากย์ใหม่แต่อย่างใด แต่มาจากการที่ผู้ชมระลึกถึงความทรงจำในอดีตที่พวกเขาคุ้นเคยมากกว่า จึงมีการแสดงความเห็นที่ไม่พอใจต่อการแปลที่เห็นในปัจจุบัน

คงจะบอกไม่ได้ว่าใครเป็นฝั่งที่ถูกต้องกว่ากัน แต่หลายๆ ครั้งความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการตัดสินในขั้นตอนการทำงานลิขสิทธิ์อันแสนวุ่นวายนั่นเอง

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*