Answerman : ยอดขายแผ่นนั้นไซร้ ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าอนิเมะเรื่องไหนปัง

Share

Ricardo ถาม :

หลายครั้งแฟนอนิเมะมักจะถกกันว่า ยอดขายแผ่นเป็นตัวบ่งบอก่าว่าอนิเมะเรื่องไหนดัง, จะมีโอกาสที่่สร้างภาคต่อไหม ฯลฯ แต่ผมเห็นผู้แต่งบางคน อย่างเช่น คนเขียนเรื่อง Durarara!! บอกว่ายอดขายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าอนิเมะเรื่องไหนดังบ้าง แล้วอ้ที่คนดูอย่างเราๆ ท่านๆ เห็นข้อมูลมันแค่ยอดของก้อนน้ำแข็งของยอดขายผ่านสื่อต่างๆ เท่านั้นเอง แล้วความจริงอะไรเป็นตัววัดว่าอนิเมะเรื่องไหนดังกันแน่ แล้วยอดขายแผ่นมันเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยจริง หรือเปล่า ?

Answerman ตอบ :

ภาพจากชาร์ตแสดงอันดับ Blu-ray ที่หลายคนคุ้นตา

แฟนอนิเมะแทบจะทั่วโลกมักจะยกเอายอดขายมาถกกันเสมอๆ ถ้าในประเทศอื่นๆ นอกเกาะญี่ปุ่นอาจจะคุยกันยากเสียหน่อย แต่ด้วยความที่ชาร์ต Oricon ของญี่ปุ่นจะทำการลงรายละเอียดของยอดการขายแผ่นทุกสัปดาห์ และ โอทาคุญี่ปุ่นเองก็กรี๊ดกร๊าดกับยอดตัวเลขเหล่านี้ พวกเขาศรัทธามัน พวเขามโนขึ้นมาว่าถ้าทำยอดขายได้มากเท่านี้แผ่นจะเข้าสู่จุด “กำไร” ของอนิเมะเรื่องนั้น ความจริงไม่ใช่เฉพาะโอทาคุเท่านั้นหรอกครับ สื่อทั่วไปในญี่ปุ่นเอง หรือแม้แต่ฝั่ง Anime News Network ก็เอายอดนี้มารายงานเหมือนกัน

ถึงตัวเลขยอดขายพวกนี้จะมีประโยชน์ในการรายงานข่าวหรือเสวนาตามรายการต่างๆ เพื่อแจ้งว่าเรื่องไหนดังในญี่ปุ่น แต่ในความเป็นจริงแล้วตัวเลขพวกนี้ใช้ประโยชน์ในแง่มุมอื่นแทบจะไม่ได้เลย แล้วก็ต้องขอบคุณเสียงสะท้อนในโลกอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ตัวเลขเหล่านี้ถูกแฟนที่เข้าใจผิดเอาประเมิน คำนวณ เจาะลึก วิเคราะห์ และตีความไปแบบผิดๆ จนทำให้ช่วงหนึ่งผม (Answerman) เคยคิดว่าทาง Oricon ควรจะเลิกปล่อยตัวเลขยอดขายที่เป็นเชื้อเพลิงในการตีความผิดๆ และก่อปัญหามากกว่าแก้ปัญหา

ปัญหาข้อแรกของตัวเลขยอดขายนี้เกิดจากการที่ Oricon รวบรวมยอดขายจากร้านค้า (ที่มีตัวหน้าร้านจริงๆ) บางเจ้าที่ยินยอมจะแจ้งยอดขายแผ่นให้ลูกค้าทุกสัปดาห์ ซึ่งจริงๆ มันไม่ครอบคลุมยอดการขายทั้งหมดในยุคนี้ที่ปัจจุบันมีร้านค้าที่ไม่มีหน้าร้านอย่างเว็บ Amazon รวมถึงร้านค้าอื่นๆ (เช่น กรณีที่ทางผู้ผลิตเปิดจำหน่ายเอง) ที่ไม่ทำการเปิดเผยยอดขายให้สาธารณะชนทราบ หรือในกรณีของ Amazon ญี่ปุ่นเองก็ยอมเปิดเผยยอดขายเฉพาะแผ่นที่จำหน่ายในประเทศเท่านั้น ผลก็คือ ตัวเลขที่รายงานผ่านทาง Oricon เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของยอดการขายทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มงานที่เป็นแนวเฉพาะกลุ่มที่แฟนนานุแฟนจะทำการสั่งซื้อผ่านโลกออนไลน์มากกว่า จากเหตุเหล่านี้ มีคนกล่าวกันว่าทาง Oricon และทาง Videoscan (ระบบการวัดยอดขายของทาง Nielsen บริษัท การวิจัยการตลาดเกี่ยวกับสิ่งที่คนดู ฟัง และซื้อ ระดับโลก) ทำการตรวจสอบยอดขาย ‘ตกหล่น’ ไปอย่างน้อยถึง 50%

สินค้า Kemono Friends ที่ยอดขายดีถล่มถลายแต่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหนังสือ

ปัญหาข้อที่สองคือ ยอดขายแผ่น Blu-ray และ DVD ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีในการบอกว่าอนิเมะเรื่องไหนสร้างกำไร เพราะยอดขายแผ่นนั้นทำให้คนมองข้ามกำไรที่มาจากการรับชมผ่านระบบออนไลน์หรือกำไรที่ได้จากการขายสิทธิ์ให้ต่างประเทศ ซึ่งยอดขายจากสองอย่างหลังนี้ยิ่งนานวันก็มีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงว่าบางทีสินค้าที่ขายดีอาจจะไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่ Blu-ray และ DVD ยกตัวอย่างเรื่อง Kemono Friends ที่ยอดขายไปพุ่งอยู่ในแพ็คสินค้าที่ขายคู่กับฝั่งหนังสือแทน

และเรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวเลขกำไรส่วนมากของอนิเมะแต่ละเรื่องไม่ได้อยู่ในฝั่งแผ่น แต่ไปอยู่ในฝั่งสินค้าเมอร์แชนไดส์แบบอื่นๆ มากกว่า อย่างอนิเมะสำหรับเด็กหลายเรื่องนี่หาได้สนใจยอดขายแผ่นไม่ เพราะรายได้จริงๆ อยู่ในฝั่งของเล่น, วิดีโอเกม,เสื้อผ้า แล้วก็เมอร์แชนไดส์แบบอื่นๆ ที่แฟนๆ จะซื้อมากกว่า

กันดั้มน่าจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างงานที่มากเรื่องนึ่งว่าของเล่นยอดขายดีกว่ายอดขายแผ่น

อย่างอนิเมะที่ฉายระยะยาวมักจะมีโครงสร้างรายการแบบนี้ : รายได้ส่วนมากมาจากสปอนเซอร์ (ตรงประโยค Kono bangumi wa goran no suponsaa no teikyou de okurishimasu นั่นล่ะ) ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทของเล่น ที่ยินดีจะจ่ายเงินสนับสนุนเพื่อให้ของเล่นที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะสามารถขายต่อไปได้เรื่อยๆ ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่่จะมาร่วมก็มักจะเป็น บริษัทเจ้าของผลงานหนังสือการ์ตูนหรือในไลท์โนเวล, บริษัทเพลง หรือบริษัทเกม ที่พวกเขายินดีจะจ่ายเงินสร้างอนิเมะต่อเรื่อยๆ แล้วตราบเท่าที่อนิเมะเรื่องนั้นยังสร้างกำไรให้กับบริษัทอยู่ ส่วนยอดขายแผ่นนั้นเป็นแค่กำไรเพิ่มเติมซึ่งเป็นตัวเลขรายได้สมทบไม่ใช่รายได้หลัก

อย่างที่เห็นได้ว่ายอดขายแผ่นเป็นมาตรวัดที่ดีว่า อนิเมะเรื่องไหนดัง แล้วเราจะวัดความดังจากอะไร ???

น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหาคำตอบชัดๆ มาบอกคุณได้ เพราะเป็นการยากที่คุณนอกคณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ (Production Committee) จะเดาได้ว่าพวกเขาทำอนิเมะเรื่องนี้มาเพื่ออะไรนับตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยเหตุว่าบางเรื่องนั้นก็ตั้งต้นว่าอยากจะเป็นอนิเมะซีรี่ส์ยาว บางเรื่องก็คิดมาชัดเจนว่าทำอนิเมะมาเพื่อขายของเล่น หรือบางเรื่องก็ตั้งใจทำสั้นๆ เพื่อโปรโมทตัวงานต้นฉบับ ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่มี ‘คนวงในตัวจริง’ ออกมาอธิบายว่าพวกเขาทำอนิเมะออกมาทำไม คงเป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่ามันประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจรงๆ หรือเปล่า

แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามไม่ให้คนเอายอดขายแผ่นมาตีความหรือวิเคราะห์แบบจริงจัง ในเมื่อข้อมูลที่ว่าเป็นข้อมูลเพียงประการเดียวที่เราเห็นออกสื่อ แต่ก็อย่างที่บอกไว้ในบทความด้านบนว่าอย่าไปยึดติดกับตัวเลขเหล่านั้นมากนักเป็นการดีกว่า

เรียบเรียงจาก : Answerman – How Can You Tell If An Anime Is Popular?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*